หอคอยบรรหาร-แจ่มใส และสวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่ สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75 บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่อง ทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประ วัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเรื่องราวน่ารู้ของของจัง หวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด
วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
มังกรสวรรค์
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2539 ขณะที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ เหยียนตี้ ยุคเซี่ย ซางอันถือเป็นยุคปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หมิง ถึงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแสดงประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย และสวยงาม
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ เหยียนตี้ ยุคเซี่ย ซางอันถือเป็นยุคปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หมิง ถึงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแสดงประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย และสวยงาม
เขื่อนกระเสียว
เขื่อนกระเสียว
อำเภอด่านช้าง อำเภอด่านช้าง เปรียบได้กับ ประตูสู่การเดินทางแนวผจญภัยของเมืองสุพรรณดินแดนที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์เขื่อนกระเสียวก็เหมือน โอเอซิส...แหล่งอาหารแหล่งเสบียง ที่อุดมสมบูรณ์ในเขื่อนเต็มไปด้ายปลานานาชนิดที่เพาะเลี้ยงและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งปลานิล ปลาม้า ปลาบึก และกุ้งจากเขื่อนกระเสียวที่หลายคนออกปากว่ารสชาดดีช่วงปลายฝน ราวเดือนตุลาก็จะมีพืชพันธุ์จากป่าเข้ามาขายเป็นจำนวนมากมีทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ผักหวานป่า น้ำผึ้ง..
ดอกดาวเรือง
ดาวเรือง
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์
ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า
การใช้ประโยชน์
ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติเป็น บึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 และในปีพ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรม ซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
เมื่อปี พ.ศ.2538 ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พัฒนาบึงฉวากเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และมีการสร้างสวนสัตว์ อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำอุทยานผักพื้นบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์มีความหลากหลาย ภายในบึงฉวากมีบริการนวดแผนไทย และเรือเร็วบริการอีกด้วย
ดอนเจดีย์
อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2134 และในปี พ.ศ. 2495 พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการะบูชาอยู่เสมอ
ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill |
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados |
วงศ์ : Asphodelaceae |
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า |
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ข้อควรระวังในการใช้ : ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง สารเคมี: ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine. |
ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn. |
วงศ์ ZINGIBERACEAE |
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) หมิ้น (ภาคใต้) |
ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ในสุดดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว |
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ เหง้า (สดและแห้ง) |
เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด |
การใช้ขมิ้นชัน แก้แพ้แก้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก โดยใช้เหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ |
อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที |
นอกจากโรคเกี่ยวกับท้องแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบอีกด้วยคะเพราะว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร |
การค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ |
แต่การเลือกขมิ้นชันมากินนั้น หากต้องเลือกเอง ขุดเอง ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชันต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องไม่ลืมว่า แสงมีปฏิกิริยากับสาระสำคัญคือ เคอร์คิวมินในขมิ้นชัน จงต้องเก็บให้พ้นแสงด้วย มิฉะนั้นจะได้รับประทานแต่การขมิ้นชันแน่ๆ |
กล้วยน้ำว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa Sapientum Linn.
วงศ์ MUSACEAE
กล้วย เปรียบเสมือนผลไม้สารพัดประโยชน์ ที่สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าส่วนใดของกล้วยก็สามารถนำมาใช้ได้ ผลอ่อน ผลแก่ หยวก ก้านใบช่อดอกหรือปลี ล้วนทั้งสามารถนำมาทำอาหารคาว หวาน หรือถนอมอาหารเก็บไว้ได้นาน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก
ลักษณะ กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นที่เห็นเป็นก้านใบหุ้มซ้อนกัน
ใบ หรือใบตองกล้วยมีใบขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นแผ่นยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 40-60 ซ.ม. มีสีเขียว เส้นใบขนานกัน
ดอก จะออกดอกเป็นช่อห้อยลงมามีกาบหุ้มสีแดงอมม่วง เรียกว่า หัวปลี รูปร่างกลมรี มีดอกย่อยติดกันมาเป็นแผง ดอกตัวเมียจะอยู่ที่ฐานส่วนดอกตัวผู้จะอยู่ช่วงปลาย
ผล หลังจากดอกตัวเมียเริ่มเจริญเป็นผล ดอกตัวผู้ก็จะร่วงไป ช่อดอกจะเจริญต่อไปเป็นเครือกล้วย ที่ประกอบด้วยหวีกล้วยประมาณ 7-8 หวี ผลกล้วยอ่อนมีสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ส่วนที่ใช้ ผลดิบ ผลสุก หัวปลี ยางกล้วยจากใบ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร- กล้วย มีความสำคัญและมีประโยชน์ ตั้งแต่ด้านการใช้สอย ความเชื่อด้านพิธีกรรม ประโยชน์คุณค่าทางอาหารแล้วยังเป็นยารักษาโรคได้ดีอีกอย่างด้วย
- ผลกล้วยดิบ นำมาฝานทั้งเปลือกตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงชงดื่ม เป็นยาแก้ท้องเดิน และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ผลกล้วยสุก ช่วยในการระบายเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อนำผลสุก 1 ผล มาผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็จะช่วยระบาย
- รากกล้วย นำมาตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ยางกล้วย มีสารเทนินใช้สมานในการห้ามเลือด แผลสด แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็ก
- หัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนม นิยมนำมาทำเป็นแกงเลียงให้แม่ลูกอ่อนรับประทาน และยังบำรุงเลือดด้วย
- เปลือกกล้วย ที่รับประทานแล้วนั้น นำมาถูส้นเท้า ฝ่ามือ นิ้มป้องกันและระงับเชื้อแบคทีเรีย
คุณค่าทางอาหาร
- กล้วย ไทยที่มีชื่อเสียงดังก้องไปทั่วโลกว่ามีรสหอมกว่ากล้วยของประเทศอื่น คือ กล้วยหอม ส่วนกล้วยที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ กล้วยน้ำหว้า วิธีใช้ในการประกอบอาหารของ กล้วย นั้นมีอยู่หลายวิธี
- กล้วยสุก นำไปเผาทั้งเปลือก แล้วขูดเอาแต่เนื้อนำไปบดกับข้าวถือว่าเป็นอาหารชนิดแรกของคนไทย นอกจากนมแม่
- กล้วยดิบ ใช้ทำเป็นแป้งไว้ผสมอาหารอื่น
- กล้วย นำมาถนอมอาหารสามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน ข้าวเกรียบกล้วย
- กล้วยตานี หั่นเป็นแว่นๆ ดองน้ำส้ม เกลือ น้ำตาล เป็นผักจิ้มหรือของขบเคี้ยวอาหารว่าง
- กล้วยดิบ อื่นๆ ใช้แกงป่า ให้ทำต้มยำ
- หัวปลี ทำแกงเลียง ทำเครื่องเคียงขนมจีน น้ำพริก
- หยวกกล้วยอ่อน ใช้แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก
จะเห็นว่าคุณค่าทางโภชนาการและอาหารของกล้วยมีสูง ดีต่อร่างกาย หาซื้อง่าย หากรับประทานเป็นปกติก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะให้พลังงานสูง แคลเซียมในกล้วยช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน วิตามินก็ครบครันทั้งวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายตามปกติ วิตามินซี ป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน และยังมีสารอาหารมากคุณค่าอื่นๆ อีก
วัดป่าเลไลก์วรวิหาร
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)