หอคอยบรรหาร-แจ่มใส และสวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่ สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75 บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่อง ทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประ วัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเรื่องราวน่ารู้ของของจัง หวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด
bung
วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
มังกรสวรรค์
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2539 ขณะที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ เหยียนตี้ ยุคเซี่ย ซางอันถือเป็นยุคปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หมิง ถึงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแสดงประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย และสวยงาม
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ เหยียนตี้ ยุคเซี่ย ซางอันถือเป็นยุคปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หมิง ถึงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแสดงประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่ทันสมัย และสวยงาม
เขื่อนกระเสียว
เขื่อนกระเสียว
อำเภอด่านช้าง อำเภอด่านช้าง เปรียบได้กับ ประตูสู่การเดินทางแนวผจญภัยของเมืองสุพรรณดินแดนที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์เขื่อนกระเสียวก็เหมือน โอเอซิส...แหล่งอาหารแหล่งเสบียง ที่อุดมสมบูรณ์ในเขื่อนเต็มไปด้ายปลานานาชนิดที่เพาะเลี้ยงและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งปลานิล ปลาม้า ปลาบึก และกุ้งจากเขื่อนกระเสียวที่หลายคนออกปากว่ารสชาดดีช่วงปลายฝน ราวเดือนตุลาก็จะมีพืชพันธุ์จากป่าเข้ามาขายเป็นจำนวนมากมีทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ผักหวานป่า น้ำผึ้ง..
ดอกดาวเรือง
ดาวเรือง
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์
ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า
การใช้ประโยชน์
ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติเป็น บึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 และในปีพ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรม ซาร์ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1–3 เมตร พื้นที่บึงฉวากอยู่ในความดูแลของหน่วยราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
เมื่อปี พ.ศ.2538 ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พัฒนาบึงฉวากเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ และมีการสร้างสวนสัตว์ อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำอุทยานผักพื้นบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์มีความหลากหลาย ภายในบึงฉวากมีบริการนวดแผนไทย และเรือเร็วบริการอีกด้วย
ดอนเจดีย์
อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2134 และในปี พ.ศ. 2495 พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการะบูชาอยู่เสมอ
ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill |
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados |
วงศ์ : Asphodelaceae |
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า |
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ข้อควรระวังในการใช้ : ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง สารเคมี: ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine. |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)